Cute Angel Flying

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ใบความรู้ที่ 5 เรื่อง เรื่องใกล้ตัวที่ผู้ผ่าตัดถุงน้ำดีควรทราบ

นิ่วในถุงน้ำดีเกิดได้อย่างไร
       ตับ  liver เป็นอวัยวะสร้างน้ำดี ซึ่งจะส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี เมื่อต้องการไปย่อยไขมัน ถุงน้ำดีก็บีบตัวส่งน้ำดีไปตามท่อน้ำดี common bile duct เข้สู่ลำไส้  doudenum และย่อยอาหาร น้ำดีประกอบด้วย น้ำ ,cholesterol ,ไขมัน, bile salt เมื่อน้ำในน้ำดีลดลงก็ทำให้เกิดนิ่ว พบบ่อยๆมี 2 ชนิดคือนิ่วที่เกิดจาก cholesterol และนิ่วที่เกิดจากเกลือต่างๆ นิ่วในถุงน้ำดีอาจจะหลุดและอุดทางเดินน้ำดี ทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ





ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่ว


  • คนอ้วนจะเกิดนิ่วที่มี cholesterol เนื่องจากการบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง
  • การได้ฮอร์โมน estrogen จากการรับประทานหรือตั้งครรภ์ทำให้ระดับ cholesterol ในน้ำดีสูง
  • เชื้อชาติ
  • เพศ หญิงพบมากกว่าชาย
  • อายุที่พบบ่อยอายุ 60 ขึ้นไป
  • ได้ยาลดไขมันบางชนิด ทำให้ cholesterol ในน้ำดีสูง
  • ผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากมีระดับ triglyceride สูง
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป
อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี

ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการอะไร บางรายมีอาการปวดเฉียบพลัน

  • ปวดท้องบนขวาปวดตลอดอาจจะปวดนานเป็นชั่วโมง
  • ปวดมักจะปวดอยู่บริเวณสะบัก
  • อาจจะปวดร้าวไปไหล่ขวา
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเรื้อรังโดยมากมักจะสัมพันธ์กับอาหารมัน อาการอื่นที่พบมี

  • ท้องอืด
  • รับประทานอาหารมันแล้วทำให้ท้องอืด
  • ปวดมวนท้อง
  • เรอเปรียว
  • มีลมในท้อง
  • อาหารไม่ย่อย 
ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์

  • ไข้สูง และมีเหงื่อออก
  • ไข้เรื้อรัง
  • ตัวเหลืองตาเหลือง หรือที่เรียกดีซ่าน
  • อุจาระเป็นสีขาว

การรักษา
  • การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกเป็นการแก้ปัญหาที่ถาวร เพื่อไม่ให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีขึ้นได้อีกต่อไป และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่างๆ ไม่สามารถรักษาโดยใช้เครื่องสลายนิ่ว 
  • การรักษาโดยใช้ยาละลายนิ่ว ใช้ได้เฉพาะนิ่วบางชนิด และต้องรับประทานยาเป็นเวลานาน และเมื่อหยุดยาก็อาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้อีก
การผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบัน มี 2 วิธี

        1. ผ่าตัดแบบเดิม โดยการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Cholecystectomy) ปัจจุบันจะเลือกใช้ในการผ่าตัดถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมากหรือแตกทะลุในช่องท้อง
        2. ผ่าตัดภายใต้กล้อง โดยการเจาะรูเล็กๆ ที่หน้าท้อง (Laparoscopic Cholecystectomy) ถ้าผู้ป่วยไม่มีถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน สามารถทำได้สำเร็จถึงร้อยละ 95 ถ้าถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันเกิน 3 วัน โอกาสผ่าตัดโดยวิธีนี้ได้สำเร็จจะน้อยลง






ผลเสียจากการตัดถุงน้ำดีทิ้ง

        ผู้ที่ถูกตัดถุงน้ำดี จะไม่มีแหล่งเก็บน้ำดี ทำให้น้ำดีที่ผลิตออกมาเอ่ออยู่ในตับ และส่งผลให้ปริมาณน้ำดีที่จะถูกส่งไปยังระบบทางเดินอาหารลดลง จึงมีผลกระทบต่อต่อระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ บางรายมีอาการท้องอืด ท้องร่วง กินอาหารที่มีไขมันไม่ได้ ตลอดชีวิต นอกจากนี้ เมื่อน้ำดีเอ่อล้นในตับ ตับจะทำงานได้ลดลง ม้ามมีเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับถุงน้ำดี เมื่อถุงน้ำดีถูกตัดทิ้ง ม้ามจะเสียสมดุล ตามหลักแพทย์แผนจีน ม้ามจะให้พลังงานแก่หัวใจ ดังนั้นถ้าม้ามมีปัญหาย่อมส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาจทำให้มีอาการใจหวิวหรือตกใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ตามหลักแพทย์แผนจีนยังมีการการกล่าวถึงการมีพลังในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ที่ลดลงอีกด้วย 


ผลสืบเนื่องหลังจากการผ่าตัดถุงน้ำดี
    ในภาวะปกติตับของเราจะขับน้ำดีออกมา เพื่อช่วยย่อยอาหารที่เป็นไขมัน และน้ำดีในร่างกายของคนปกติก็จะเก็บไว้ในถุงน้ำดีและจะปล่อยออกมาเพื่อช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน หลังจากกที่เราผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ตับของเราคงยังจะปล่อยน้ำดี เข้าไปยังลำไส้เล็ก ดังนั้นการที่เราผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกจะทำการการปล่อยน้ำดีนั้นไม่ค่อยคงเส้นคงว่า ซึ่งอาจจะทำให้เผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวด ไม่สบายท้อง และท้องเสีย หลังจากมื้ออาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง

ข้อแนะนำให้การรับประทานอาหาร

       ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดจะได้รับอาหารมื้อเล็ก ๆ  เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพกับการมีน้ำดีปริมาณที่ลดลง ซึ่งการได้รับอาหารมื้อเล็ก ๆ ทำให้ไหลของน้ำดีดีกว่า ( Katherine Zeratsky and Jennifer Nelson จาก MayoClinic.com) การับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ ช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำดีได้พอเหมาะกับปริมาณอาหารแต่ละมื้อ อาหารควรเป็น เมล็ดธัญพืช ผลไม้ ผัก และมีอาหารประเภทโปรตีนที่มีไขมันประกอบ ปริมาณเล็กน้อย เช่น นมพร่องมันเนย ,เนื้อไก่ หรือปลา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ,น้ำอัดลม อาหารมัน ๆ และอาหารที่หวานจัด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ท้องเสียได้


ข้อแนะนำในการบริโภคอาหารไขมัน

       ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารจานด่วน หรืออาหารขยะ น้ำราด หรือซอสที่มัน ๆ และอาหารทอด ซึ่งอาหารพวกนี้จะทำให้การผลิตน้ำดีไม่เพียงพอที่จะย่อย โดยค่าที่เหมาะสมของไขมันที่ควรได้รับต่อมื้ออาหารก็คือ 3 กรัม/มื้อ ดังนั้นผู้ป่วยควรอ่านฉลากอาหารก่อนรับประทาน และควรรับปรับประทานอาหารที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ามีไขมันต่ำ เช่น ไอศกรีมไร้ไขมัน  โยเกิร์ตธรรมชาติไขมันต่ำ  ไข่ขาว และเนื้อหมูที่ตัดเอาไขมันออกแล้ว

ข้อควรระวัง
       อย่าหยุดรับประทานอาหารที่แพทย์สั่งให้รับประทานเอง ควรพูดคุยกับแพทย์ก่อนจะทำการเปลี่ยนอาหารเป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง การไม่รับประทานอาหารตามที่แพทย์สั่งจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด